“ความน่าเชื่อถือ” มักเป็นสิ่งแรกที่เรามองหาเมื่อต้องการจะซื้อสินค้าหรือบริการอะไรสักอย่าง
ตั้งแต่เรื่องเล็ก ๆ อย่างการซื้ออาหาร ไปจนถึงการลงทุนในระดับที่สูงขึ้น
เพราะมันเป็นเครื่องการันตีว่าการตัดสินใจของเรานั้นเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องและคุ้มค่ากับราคาเสียไป
สำหรับการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ก็เช่นเดียวกัน เนื่องจากเป็นการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับเงินจำนวนมาก
บางครั้งอาศัยความรู้อย่างเดียวอาจไม่พอ ยังต้องอาศัย “ประสบการณ์” และ “ความเชี่ยวชาญ” อีกด้วย
และนั่นเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้หลายต่อหลายคน มองหาบริการจากตัวแทน ก่อนตัดสินใจลงทุนอสังหาริมทรัพย์
เพราะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มากกว่า ซึ่งตัวแทนอสังหาฯ ที่ “น่าเชื่อถือ”
นั้นควรจะมีจะมีลักษณะอย่างไรบ้าง ตามมาดูกันเลยค่ะ
.
การตรงต่อเวลา
ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก เราคงจะประทับใจกับตัวแทนที่มาตรงเวลานัดหมาย หรือ มาก่อนเวลามากกว่า
เพราะนั่นเท่ากับว่าเขาให้ความสำคัญกับเรา เราคงจะรู้สึกไม่ดีใช่ไหมล่ะคะ ถ้าสมมติว่าเราฝากเช่าห้องกับเอเจนซีหนึ่ง
แต่ตัวแทนกลับมาช้า หากเหตุการณ์นี้เกิดกับผู้ที่สนใจเช่าห้องของเราคงไม่ดีแน่
นอกจากนี้ การแต่งกายที่สุภาพและการเตรียมพร้อมด้านเอกสารก็เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ
รวมทั้ง การสร้างความเป็นมิตร ผ่านรอยยิ้ม ผ่านการพูดจาที่นุ่มนวลไพเราะ ก็เป็นอีกหนึ่งคุณสมบัติที่ควรมองหาจากตัวแทน
เพราะเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จะช่วยสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้ด้วยเช่นเดียวกัน
.
ตัวแทนอสังหาฯ ที่ดีต้องสามารถให้คำปรึกษากับเราได้รอบด้าน รู้ลึก รู้จริง และมีข้อมูลที่ทันสมัย
เพราะการลงทุนนั้นเป็นเรื่องใหญ่ หากขาดข้อมูลที่สำคัญเรื่องอะไรไป อาจทำให้การดำเนินการทั้งหมดของเราสะดุดลง
ตัวอย่างง่ายๆ เช่น หากจะปล่อยเช่าให้ชาวญี่ปุ่น ตัวแทนก็ควรจะแนะนำได้ว่า ชาวญี่ปุ่นนั้นชอบห้องสไตล์ไหน
ควรมีสิ่งอำนวยความสะดวกอะไรบ้างที่จำเป็นสำหรับคนญี่ปุ่นโดยเฉพาะ
.
ตัวแทนที่มีเครือข่ายกับพาร์ทเนอร์ และฐานลูกค้าในมือพร้อมทั้งในและต่างประเทศ จะช่วยจับคู่ผู้ซื้อ-ผู้ขาย ได้รวดเร็วกว่า
อีกทั้งยังได้ราคาดีกว่า นอกจากนี้ยังช่วยให้เรามั่นใจได้อีกด้วยว่าตัวแทนนี้
มีประสบการณ์และมีมาตรฐานการทำงานที่ดี เป็นที่ยอมรับจากคนในวงกว้าง
.
ความเป็นมืออาชีพ คือผลรวมของ การตรงต่อเวลา ประสบการณ์ และ ความเชี่ยวชาญ ทุกสิ่งเหล่านี้
จะทำให้บริษัทหนึ่งมีความน่าเชื่อถือ เป็นที่ยอมรับและเป็นที่ไว้วางใจต่อทั้งลูกค้าและพาร์ทเนอร์
ในขณะเดียวกัน ลูกค้าที่กำลังมองหาความน่าเชื่อถือจากตัวแทน ก็ควรที่จะใช้คุณสมบัติเหล่านี้
เป็นตัวพิจารณา เพื่อให้ตัดสินใจได้ดีกว่า อย่างมั่นใจ
รู้หรือไม่ว่าในปัจจุบันเราไม่ต้องเสียเวลาและค่าเดินทางในการดำเนินการ ย้ายทะเบียนบ้าน แล้ว?
เพราะตอนนี้การย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ช่วยให้เราสะดวกมากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นการย้ายเข้า-ย้ายออก ย้ายปลายทาง ย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านใหม่ หรือจองคิวเข้ารับบริการ
ส่วนวิธีการและขั้นตอนจะเป็นอย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ
ก่อนที่เราจะไปลงทะเบียนแจ้งย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์
มาเตรียมเอกสารที่เราจะต้องใช้ในการดำเนินการกันก่อนนะคะ
- ทะเบียนบ้านฉบับจริง
- บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าบ้าน
- เอกสาร ทร.6 การแจ้งย้ายทะเบียนบ้าน
- หนังสือมอบอำนาจ กรณีเจ้าบ้านไม่ได้ไปดำเนินการด้วยตัวเอง
- หากเป็นผู้รับมอบอำนาจ ต้องเตรียมบัตรประจำตัวประชาชนไปแสดงด้วย
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ต้องการย้ายออก (ในกรณีแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านเดิม)
ขั้นตอนการแจ้งย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์
- ทุกคนจะต้องมีแอพลิเคชั่น “ThaID” หรือ ไทยดี
โดยสามารถดาวน์โหลดได้ผ่านมือถือทั้งระบบ IOS และ Android ตามลิ้งค์ด้านล่าง
IOS : https://apps.apple.com/th/app/d-dopa/id1533612248
Android https://play.google.com/store/apps/details?id=th.go.dopa.bora.dims.ddopa&hl=th&gl=US
- เข้าแอปพลิเคชั่นและลงทะเบียนเพื่อยืนยันตัวตน (สำหรับการใช้งานครั้งแรก)
- เลือก “ลงทะเบียนด้วยตนเอง”
- ยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งาน สแกนบัตรประชาชน สแกนรูปใบหน้าตนเอง และสร้างรหัสผ่าน
- เลือก “การคัดและรับรองเอกสารงานทะเบียน”
- เลือก “ระบบการแจ้งย้ายที่อยู่ด้วยตนเอง”
- กดส่งคำร้องขอเจ้าบ้าน โดยกรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านที่เราต้องการย้ายเข้าทะเบียนบ้าน
(เจ้าบ้านต้องทำการลงทะเบียนแอปพลิเคชั่น ThaID และยืนยันตัวตน) - หลังจากนั้น ระบบจะส่งข้อความให้เจ้าบ้านทำการยืนยันตัวตนและให้ความยินยอม
- เมื่อเจ้าบ้านกดยืนยันเพื่อยินยอมให้ย้ายเข้า เรียบร้อยแล้ว คำขอจะถูกส่งไปยังนายทะเบียนของอำเภอหรือเขตที่แจ้งย้าย
- จากนั้นนายทะเบียนจะดำเนินการอนุมัติและแจ้งผลให้ผู้แจ้งย้ายและเจ้าบ้านทราบ
ง่ายมากๆ เลยใช่ไหมคะ เพียงเท่านี้เราก็สามารถแจ้ง ย้ายทะเบียนบ้าน ได้ทุกที่ ทุกเวลา
และไม่ต้องออกไปเจอกับปัญหารถติด ฝุ่นควันมลภาวะ จากการเดินทาง แถมไปถึงสำนักงานเขต
หรือที่ว่าการอำเภอ ยังต้องไปรอต่อคิวให้ยุ่งยากเสียเวลาอีกต่างหาก









ทะเบียนบ้านนั้นเป็นเอกสารของทางราชการ ที่ระบุรายชื่อของผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้าน
ทะเบียนบ้านจะบ่งบอกว่าบุคคลใดเป็นเจ้าบ้านและบุคคลใดเป็นผู้อาศัย
คนไทยใช้ทะเบียนบ้านเพื่อแสดงที่อยู่อาศัย และใช้แสดงเป็นหลักฐานสำคัญในการติดต่อกับหน่วยงานต่างๆ
และถ้าคนต่างชาติอยากจะมีชื่อในทะเบียนบ้านบ้างจะต้องทำอย่างไรและเตรียมเอกสารอะไรบ้าง
วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกคนแล้วค่ะ
สิ่งแรกที่ต้องรู้คือ การขอ ทะเบียนบ้านของชาวต่างชาติ จะต้องเป็นทะเบียนบ้านเล่มเหลือง (ทร.13) เท่านั้น
และการนำชื่อชาวต่างชาติเข้าทะเบียนบ้าน จะมี 2 กรณีหลัก ๆ
1.กรณีที่คนต่างชาติสมรสกับคนไทย และต้องการนำชื่อเข้าทะเบียนบ้าน
หากคุณหรือบิดามารดาของคุณเป็นเจ้าบ้าน ให้เจ้าบ้านไปแจ้งต่อสำนักทะเบียนตามภูมิลำเนาที่บ้านตั้งอยู่
โดยกรอกคำร้องเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร(ทร.13) ขอเพิ่มชื่อบุคคลในทะเบียนบ้าน
สำหรับเอกสารที่ต้องเตรียมก็มีดังนี้ค่ะ
เอกสารเจ้าของบ้าน
– บัตรประชาชนพร้อมสำเนา
– ทะเบียนบ้าน ทร. 14 เล่มจริง พร้อมสำเนา
เอกสารสำหรับขอ ทะเบียนบ้านของชาวต่างชาติ
– หนังสือเดินทาง (ตัวจริงพร้อมสำเนาที่ทำการแปลเป็นภาษาไทย)
– หนังสือแจ้งที่พักอาศัยสำหรับคนต่างชาติ ออกโดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
– ทะเบียนสมรส
– รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 4 รูป
– พยานบุคคลพร้อมบัตรประชาชน อย่างน้อย 2 คน (พยานควรเป็นคนที่รู้จักกัน)
- 2. กรณีที่คนต่างชาติชื้อ Apartment หรือคอนโด และเป็นของเจ้าของกรรมสิทธิ์
ท่านผู้นั้นสามารถยื่นขอมีทะเบียนบ้านของตนบุคคลต่างด้าวนั้นเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย
และได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
หรือเป็นคนต่างด้าวตามที่กฎหมายกำหนดมีสิทธิซื้อห้องชุด
ได้ไม่เกินร้อยละ 49 ของจำนวนห้องชุดทั้งหมดในอาคารนั้น
และมีสิทธิขอทะเบียนบ้านได้ ประเภท (ทร.13)
โดยนำหลักฐานติดต่อ สำนักงานเขตที่คอนโดมิเนียมนั้นตั้งอยู่
เอกสารที่ใช้
- หนังสือเดินทาง (ตัวจริงพร้อมสำเนาที่ทำการแปลเป็นภาษาไทย)
- ทะเบียนบ้าน(ทร.14) (เล่มสีน้ำเงิน) แปลเป็นภาษาไทย
- หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด และ หนังสือสัญญาซื้อขาย อช. 23
- รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 4 รูป
- ใบอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทย (ถ้ามี)
- พยานบุคคลพร้อมบัตรประชาชน อย่างน้อย 2 คน (พยานควรเป็นคนที่รู้จักกัน)
- เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น ใบขับขี่ วุฒิการศึกษา กรีนการ์ด
- รูปถ่ายหน้าบ้านให้เห็นหมายเลขบ้าน และในห้องหรือในบ้านที่พักอาศัยจริง
สถานที่ติดต่อ
กรุงเทพมหานครและปริมณทล
– ให้ติดต่อสำนักงานเขตที่อาศัยอยู่
ต่างจังหวัด
– สำนักทะเบียนอำเภอ
– สำนักทะเบียนท้องถิ่น
ขั้นตอน
– นำเอกสารทั้งหมด ติดต่อฝ่ายทะเบียนที่สำนักงานเขตหรือสำนักทะเบียนอำเภอนั้น ๆ
– หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่พิจารณาเสร็จ จะมีการนัดสัมภาษณ์เจ้าบ้าน ผู้ขอเพิ่มชื่อ และพยานบุคคล
– เจ้าหน้าที่จะพิจารณาและเรียกไปรับเล่มทะเบียนบ้านอีกครั้ง
ส่วนราคาค่าใช้จ่ายเนี่ยแล้วแต่ของแต่ละเขต แต่ละพื้นที่เลยค่ะ
ราคาไม่ได้สูงมาก และใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบประมาณ 60 – 90 วัน แล้วแต่พื้นที่
ถ้าใครคิดว่าต้องใช้แน่ๆ เราในฐานะของนายหน้าอสังหาที่มีลูกค้าต่างชาติเป็นส่วนใหญ่
จากประสบการณ์แล้วขอแนะนำว่าให้ทำล่วงหน้าไว้เลยนะคะ จะได้ไม่มีปัญหาเวลาจะใช้ค่ะ








