
เช็คขั้นตอนการ ตรวจสอบห้อง หลังจากภัยพิบัติ (ฉบับคนไม่รู้เลย)
หลังจากผ่านพ้นเหตุการณ์ภัยธรรมชาติไป ก็ควรเช็ค และ ตรวจสอบห้อง หลังเกิดแผ่นดินไหว เพื่อความปลอดภัย และบทความนี้ได้รวมขั้นตอนการเช็คหรือตรวจสอบห้อง (ฉบับคนไม่มีความรู้อะไรเลย)
คำถามที่ตามมา คือ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า… คอนโดที่เราอยู่ ยังแข็งแรงปลอดภัยหรือไม่? หลังเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่สุดของกรุงเทพ ในรอบ 100 ปี
หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงเมื่อวันที่ 28 มี.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศเมียนมา และสั่นไหวรุนแรงจนรู้สึกได้ในหลายพื้นที่ของไทย โดยเฉพาะในกรุงเทพ ถึงขนาดที่นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และ รมว. กลาโหม กล่าวว่า นี่เป็นเหตุการณ์ที่ “ไม่เคยเกิดมาก่อนในรอบ 100 ปี สำหรับกรุงเทพมหานคร”
ทั้งนี้ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ออกแถลงการณ์หลังเกิดเหตุว่า เนื่องจากประเทศไทยมีกฎหมายควบคุมอาคาร “อาคารในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะอาคารใหม่ มีการก่อสร้างที่สามารถรับแรงแผ่นดินไหวได้ และตัวเลข [ความรุนแรงที่รับได้] เข้าใจว่ามากกว่าแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในครั้งนี้”
อย่างไรก็ตาม คำยืนยันดังกล่าวยังไม่สามารถทำให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในคอนโด หลายแห่งสบายใจได้ โดยผู้อยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมหลายรายแสดงความคิดเห็นบนโซเชียลมีเดียว่า…ตนยังไม่พร้อมกลับเข้าพักในคอนโด เพราะกังวลอาคารถล่มซ้ำรอยลงมาอีก…
ทำไมแผ่นดินไหวในเมียนมาจึงสะเทือนไกลถึงกรุงเทพ ก็เพราะว่าการสั่นสะเทือนครั้งนี้ มีระดับความรุนแรงถึง 7.3 ริเตอร์ ส่งผลให้ตึกหลายแห่งถล่ม และจากการสำรวจสาเหตุของตึกที่ถล่มลงมา เกิดจากเหล็กที่ใช้ก่อสร้างอาคารหรือ ตึก สตง.บางส่วนผิดมาตรฐาน หรือเกรดต่ำกว่าที่เป็นจริง
แล้วเมื่อทราบเช่นนี้แล้ว เราควร ตรวจสอบหรือเช็คห้องอย่างไรดี? ถึงจะปลอดภัย
โดยผู้เชี่ยวชาญจากวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) อาจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมโยธา และวิศวกรโยธาประสบการณ์มากกว่า 30 ปี แนะนำว่า… ควรสังเกตคอนโด เพื่อให้มั่นใจว่าอาคารที่อาศัยอยู่มีความปลอดภัยพอที่จะอยู่อาศัยต่อไปได้ รวมถึงรอยร้าวรูปแบบต่างๆ บ่งบอกอะไรได้บ้าง?
แผ่นดินไหวเป็นบทพิสูจน์ความแข็งแรงของตึกสูง แต่ยังไม่ใช่สำหรับอาคารเตี้ย เพราะระดับความรุนแรงครั้งนี้ จะ[เป็นการ]ทดสอบว่าอาคารสูงๆ มีความแข็งแรงยืดหยุ่นเพียงใด
ความรุนแรงของแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มี.ค. ที่ผ่านมา ส่งผลถึงอาคารสูงในกรุงเทพ ในระดับความรุนแรง ทำให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้าง
และจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้ เกิดจาก ตัวคลื่นแผ่นดินไหวที่ถูกส่งมาจากเมียนมา เป็นแผ่นดินไหวคลื่นยาว (Long-period Ground Motion) ซึ่งมีผลกระทบอย่างมาก สำหรับอาคารที่เป็นอาคารสูง ก็เลยจะเห็นว่า… มีความเสียหายในตัวตึกที่เป็นอาคารสูงค่อนข้างเยอะ
อย่างไรก็ตาม ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตึกในกรุงเทพ นั้นแตกต่างกับความเสียหายที่เกิดขึ้นในประเทศเมียนมา ซึ่งอาคารเตี้ยได้รับผลกระทบอย่างมาก อาคารเตี้ยจะได้รับผลกระทบจากคลื่นแผ่นดินไหวที่เป็นคลื่นสั้น เหมือนพื้นที่ต่างๆ ในบริเวณที่เป็นพื้นที่ของเมียนมา ที่เราเห็นว่าอาคารแค่ 3-4 ชั้น มีการพังถล่มค่อนข้างเยอะกว่า
รอยร้าวแบบไหนกันนะ?! ที่เป็นอันตราย และแบบไหนที่อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย เมื่อตัวอาคารมันเคลื่อนตัวโยกไปโยกมา อาจเกิดรอยร้าวได้!
หากรอยร้าวไม่ได้เกิดกับโครงสร้าง ถือว่าไม่เป็นอันตราย แต่หากเป็นรอยร้าวบริเวณโครงสร้าง ผู้อยู่อาศัยควรจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญมาพิจารณาแทนว่า… ความเสียหายรุนแรงแค่ไหน
ตรวจสอบระดับความเสียหายเบื้องต้น โดยอ้างอิงจากคู่มือของกรมโยธาธิการและผังเมืองไว้ว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับอาคารสามารถแยกระดับความรุนแรงออกได้เป็น 3 ระดับ คือ
- ระดับสีเขียว หรือ ระดับที่ไม่เป็นอันตรายใดๆ คือ ผลกระทบต่อบริเวณลักษณะของโครงสร้างรอง เช่น อิฐก่อ ฝ้าเพดาน หรือ ปูนฉาบ
- ระดับสีเหลือง หรือ ระดับรุนแรงระดับปานกลาง คือ ผลกระทบต่อบริเวณ เสา คาน กำแพงคอนกรีตเสริมเหล็ก และพื้นคอนกรีตมีการฉีกขาดจนเห็นถึงบริเวณเหล็ก
- ระดับสีแดง หรือ ระดับอันตราย จำเป็นต้องถูกตรวจสอบโดยวิศวกรก่อนเข้าใช้อาคาร คือผลกระทบต่อบริเวณโครงสร้างหลัก คอนกรีตแตกร้าว เห็นเหล็กดุ้ง หรือโค้งงอ
ทั้งนี้ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้เปิดเผยวันนี้ว่า ทางกรุงเทพมหานครได้รวบรวมวิศวกรอาสาลงพื้นที่ตรวจสอบอาคารที่ได้รับผลกระทบ 155 แห่ง และพบว่ามีอาคารที่เสียหายในระดับสีแดง 2 แห่ง ซึ่งประชาชนที่พักอาศัยได้รับข้อมูลและออกจากพื้นที่แล้ว อาคารที่อยู่ในระดับสีเหลือง 33 แห่ง และอาคารที่อยู่ในระดับสีเขียว 102 แห่ง และอยู่ในระหว่างการรายงานอีก 18 แห่ง
อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีการเปิดเผยข้อมูลว่าอาคารแต่ละระดับสีคืออาคารใดบ้าง การตรวจสอบความเสียหายขั้นต้นของโครงสร้างอาคารจากรอยร้าว จัดทำโดยกรมโยธาธิการและผังเมืองที่มาของภาพ,กรมโยธาธิการและผังเมือง
นี่เป็นภาพที่เรานำมาจากกรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อให้เพื่อนๆ และทุกคน ลองตรวจสอบรอยร้าว รอบห้องหรืออาคารดู หากเป็นรอยร้าวระดับสีเขียว ก็อาศัยอยู่ได้ แต่หากเป็นรอยร้าวสีเหลือง หรือสีแดง ก็ควรหลีกเลี่ยง ให้วิศวกร มาตรวจสอบโครงสร้างก่อน
สรุปส่งท้าย หลังจากผ่านพ้นเหตุการณ์ภัยธรรมชาติไปเพื่อนๆ อย่าลืม! เช็ค หรือ ตรวจสอบห้อง หลังเกิดแผ่นดินไหว เพื่อความปลอดภัย โดยสังเกตจากรอยร้าวนะคะ ด้วยความห่วงใยจากทีมงาน Amber
สำหรับคนที่กำลังมองหาคอนโดที่ตอบโจทย์อยู่ Amber International Realty ช่วยคุณได้ได้รับการรับรองจากสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ แห่งประเทศไทย
ได้รับรางวัล Agency Excellence Southeast Asia Awards 2023 จาก Dot Property
ให้บริการแบบครบวงจร One Stop Service
>>> บริการซื้อ ขาย เช่า คอนโด
>>> บริการฝากขาย ฝากเช่า คอนโด
>>> บริการบริหารและจัดการคอนโด
LINE@ : https://lin.ee/KOsTUWR
Tel : 089-986-0202
Youtube : @amberrealty
Tiktok : https://www.tiktok.com/@amberrealty
เลือกดูโครงการที่ชอบ: https://amber-international.com/projects/
#ซื้อขายคอนโดกรุงเทพ #ซื้อคอนโด #ขายคอนโด #เช่าคอนโดกรุงเทพ #ลงทุนคอนโด #คอนโดกรุงเทพ