กฎหมายการออกแบบอาคารที่เกี่ยวกับสถานการณ์แผ่นดินไหว

09

เม.ย. 25

กฎหมายการออกแบบอาคารที่เกี่ยวกับสถานการณ์แผ่นดินไหว

กฎหมายการออกแบบอาคาร ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์แผ่นดินไหวมีอะไรบ้าง หลายคนคงอยากรู้ เพราะเมื่อวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา คงเป็นฝันร้ายของใครหลายๆคน ที่ต้องตกอยู่ในเหตุการณ์ไม่คาดคิด อย่างแผ่นดินไหว ที่นั่งทำงานอยู่ก็ต้องวิ่งลงจากตึก เพื่อเอาชีวิตรอด หรือแม้แต่ผู้โชคร้ายที่ตกอยู่ในเหตุการณ์ตึก สตง. ถล่ม เป็นเหตุการณ์ที่กระทบจิตใจผู้คนในวงกว้าง และเหตุการณ์แบบนี้คงไม่มีอยากให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

และเพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย มีเรื่องอะไรบ้างที่เราควรรู้ หลายคนมุ่งประเด็นความสงสัยมาที่ตัวอาคาร แล้วอาคารที่ปลอดภัยต้องมีมาตราฐานอย่างไรบ้าง กฎหมายกำหนด ให้มีการใช้วัสดุแบบไหนบ้าง? วันนี้บทความนี้ Amber ได้รวบรวมกฎหมายการออกแบบอาคารเกี่ยวกับสถานการณ์แผ่นดินไหวมาฝากเพื่อนๆ เพื่อเป็นความรู้กันค่ะ

 

นอกจากอาคารที่สูงตระง่าแล้ว ความสำคัญในการสร้างอาคารที่ปลอดภัยก็เป็นสิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาเช่นกัน ซึ่งในปัจจุบัน ความปลอดภัยของอาคารในกรณีที่เกิดแผ่นดินไหว เป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองข้ามได้ เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่บนเขตแผ่นดินไหว ซึ่งมีความเสี่ยงจากการเกิดแผ่นดินไหวในบางพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ดังนั้น การออกแบบอาคารให้สามารถรับมือกับแผ่นดินไหวได้จึงเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นที่มาของกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการออกแบบอาคารในสถานการณ์ฉุกเฉินทางภัยพิบัตินั่นเอง

 

กฎหมายและมาตรฐานการออกแบบอาคารสำหรับแผ่นดินไหว

ในประเทศไทย กฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับการออกแบบอาคารที่ต้องสามารถต้านทานแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้ มีการกำหนดใน “มาตรฐานการออกแบบโครงสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้าง พ.ศ. 2558” ซึ่งมีการกำหนดข้อกำหนดในการออกแบบอาคาร เพื่อความปลอดภัยจากภัยพิบัติแผ่นดินไหว โดยมีการระบุให้ทุกอาคารที่มีความสูงเกิน 6 ชั้น ต้องมีการออกแบบที่สามารถรับมือกับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้

 

การออกแบบโครงสร้างอาคาร ที่สามารถทนแรงแผ่นดินไหว

การออกแบบโครงสร้างอาคารที่ทนทานต่อแผ่นดินไหว จำเป็นต้องพิจารณาองค์ประกอบหลายๆ อย่าง เช่น

  • วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง วัสดุที่ใช้จะต้องมีความแข็งแรงและยืดหยุ่นเพียงพอที่จะรองรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว โดยเฉพาะในส่วนของโครงสร้างหลัก เช่น เสาและคาน
  • การวิเคราะห์และคำนวณแรงที่กระทำ การคำนวณแรงแผ่นดินไหว จะต้องใช้ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ที่ตั้งของอาคาร การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก และความเร็วของแผ่นดินไหวในพื้นที่นั้นๆ
  • ระบบโครงสร้างยืดหยุ่น การออกแบบให้มีระบบโครงสร้างที่สามารถยืดหยุ่นได้ เช่น การใช้เทคโนโลยีระบบรองรับแรงแผ่นดินไหว (seismic dampers) หรือระบบกันกระแทก (shock absorbers) เพื่อช่วยลดการกระแทกจากแรงแผ่นดินไหว

 

กระทรวงมหาดไทยออก “กฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2564″ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2564 เพื่อใช้บังคับแทนกฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนักฯ ฉบับเดิม พ.ศ. 2550 โดยให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

กฎกระทรวงฉบับใหม่นี้ได้ปรับปรุงบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบันที่พบว่า… มีพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวในประเทศมากขึ้น จากเดิมมี บริเวณเฝ้าระวัง บริเวณที่ 1 และบริเวณที่ 2 โดยแบ่งใหม่เป็น 3 บริเวณ ได้แก่

  • บริเวณที่ 1 (เดิมคือ บริเวณเฝ้าระวัง) มี 14 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ ชุมพร สงขลา สุราษฎร์ธานี โดยมีหลายจังหวัดที่เพิ่มเติมขึ้นมา ได้แก่ ตรัง นครพนม นครศรีธรรมราช บึงกาฬ ประจวบคีรีขันธ์ พิษณุโลก เพชรบุรี เลย สตูล และหนองคาย และมีบางจังหวัดที่ปรับย้ายไปเป็นบริเวณที่ 2 (พังงา ภูเก็ต ระนอง)
  • บริเวณที่ 2 (เทียบได้กับ บริเวณที่ 1 เดิม) เป็นบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบในระดับปานกลาง มี 17 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร โดยมีจังหวัดที่ปรับย้ายมาจากบริเวณเฝ้าระวังเดิม คือ พังงา ภูเก็ต ระนอง และมีจังหวัดที่เพิ่มเติมขึ้นมา ได้แก่ กำแพงเพชร ชัยนาท นครปฐม นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี และอุทัยธานี
  • บริเวณที่ 3 (เทียบได้กับ บริเวณที่ 2 เดิม) เป็นบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบในระดับสูง มี 12 จังหวัด ได้แก่จังหวัดเดิม 10 จังหวัด คือ กาญจนบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และลำพูน และเพิ่มขึ้น 2 จังหวัด คือ สุโขทัย และอุตรดิตถ์

 

สำหรับประเภทอาคารที่ให้ใช้บังคับตามกฎกระทรวงฉบับนี้ ได้ปรับปรุงและเพิ่มเติมมากขึ้นในทั้งสามบริเวณ (ดูรายละเอียดในข้อ 4 ของกฎกระทรวง) ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับการออกแบบและคำนวณโครงสร้างอาคาร เพื่อต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว ไม่ได้บรรจุไว้ในกฎกระทรวงฉบับนี้ แต่จะเป็นไปตามที่รัฐมนตรี โดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมอาคารประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา หรือหลักเกณฑ์บางส่วนอาจเป็นไปตามที่มีการจัดทำขึ้น โดยส่วนราชการที่มีหน้าที่และอำนาจในเรื่องนั้น ซึ่งจะทำให้การปรับปรุงหลักเกณฑ์ต่างๆ ให้มีความทันสมัยเป็นไปได้ง่ายขึ้น โดยคาดว่าจะมีการออกประกาศกำหนดรายละเอียดเพื่อใช้ในการออกแบบและคำนวณภายในระยะเวลาก่อนการใช้บังคับกฎกระทรวงฉบับนี้

กฎกระทรวง: https://download.asa.or.th/03media/04law/cba/mr/mr64-68b.pdf

ประกาศจากกฎกระทรวง: https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/275/T_0016.PDF

 

ผลกระทบของการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายการออกแบบ

การไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการออกแบบอาคารเพื่อความปลอดภัยจากแผ่นดินไหว สามารถส่งผลร้ายแรงได้ โดยเฉพาะหากเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่ที่ไม่พร้อมรับมือกับแรงสั่นสะเทือน อาจทำให้เกิดความเสียหายทั้งในแง่ของทรัพย์สินและชีวิตมนุษย์

ดังนั้น การปฏิบัติตามกฎหมายการออกแบบอาคารจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงเหล่านี้

บทสรุป

สรุปส่งท้าย กฎหมายการออกแบบอาคาร มีเพื่อรับมือกับแผ่นดินไหว เป็นปัจจัยที่สำคัญมากในกรอบกฎหมายการก่อสร้าง ซึ่งมีบทบาทในการปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน การปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานการออกแบบอาคารในสถานการณ์แผ่นดินไหวไม่เพียงแต่จะช่วยลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติธรรมชาติ แต่ยังเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้พักอาศัยในอาคารนั้นๆ ว่าพวกเขาจะปลอดภัยในกรณีที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว

 

สำหรับคนที่กำลังมองหาคอนโดที่ตอบโจทย์อยู่ Amber International Realty ช่วยคุณได้ได้รับการรับรองจากสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ แห่งประเทศไทย
ได้รับรางวัล Agency Excellence Southeast Asia Awards 2023 จาก Dot Property

ให้บริการแบบครบวงจร One Stop Service

>>> บริการซื้อ ขาย เช่า คอนโด

>>> บริการฝากขาย ฝากเช่า คอนโด

>>> บริการบริหารและจัดการคอนโด

LINE@ : https://lin.ee/KOsTUWR

Tel : 089-986-0202

Youtube : @amberrealty

Tiktok : https://www.tiktok.com/@amberrealty

เลือกดูโครงการที่ชอบ:  https://amber-international.com/projects/

#ซื้อขายคอนโดกรุงเทพ #ซื้อคอนโด #ขายคอนโด #เช่าคอนโดกรุงเทพ #ลงทุนคอนโด #คอนโดกรุงเทพ

บทความน่าสนใจ

คอนโดเงินเหลือ คืออะไร? ทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจกู้ซื้อ

คอนโดเงินเหลือคืออะไร? ทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจกู้ซื้อ

คอนโดเงินเหลือ หรือ คอนโดเงินทอน เป็นคำที่คุ้นหูกันมากขึ้นในวงการอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่กำลังมองหาคอนโดมิเนียมเป็นของตัวเอง แต่หลายคนอาจยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า คอนโดเงินเหลือคืออะไร มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร และเหมาะสมกับใครบ้าง คอนโดเงินเหลือ คืออะไร? คอนโดเงินเหลือ หมายถึง การขอสินเชื่อกับธนาคารเพื่อซื้อคอนโดมิเนียมในวงเงินที่สูงกว่าราคาขายจริงของคอนโดนั้น ๆ ทำให้ผู้กู้ได้รับเงินส่วนต่างที่เหลือมาใช้จ่ายในส่วนอื่น ๆ นอกเหนือจากการซื้อคอนโด เช่น นำไปปิดหนี้บัตรเครดิต ชำระค่าใช้จ่ายในการตกแต่ง หรือใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ตัวอย่าง: คุณต้องการซื้อคอนโดราคา 2 ล้านบาท แต่คุณยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารในวงเงิน 2.5 ล้านบาท เมื่อได้รับอนุมัติสินเชื่อ คุณจะได้รับเงิน 2.5 ล้านบาทเข้าบัญชี แต่จะนำเงิน 2 ล้านบาทไปชำระค่าคอนโด ทำให้คุณเหลือเงินอีก 5 แสนบาท ทำไมถึงมีคอนโดเงินเหลือ? ธนาคารประเมินราคาทรัพย์สินสูงกว่าราคาขายจริง: บางครั้งธนาคารอาจประเมินมูลค่าของคอนโดสูงกว่าราคาที่ผู้ขายตั้งไว้ ทำให้คุณสามารถกู้เงินได้มากกว่าราคาขายจริง ผู้ขายต้องการกระตุ้นยอดขาย: ผู้ขายอาจเสนอโปรโมชั่นพิเศษ เช่น การยื่นขอสินเชื่อผ่านธนาคารที่กำหนด เพื่อดึงดูดผู้ซื้อ ข้อดีของคอนโดเงินเหลือ มีเงินเหลือใช้: ได้เงินก้อนมาใช้จ่ายในสิ่งที่ต้องการ เช่น ปิดหนี้ หรือปรับปรุงบ้าน โอกาสเป็นเจ้าของทรัพย์สิน: ได้เป็นเจ้าของคอนโดมิเนียมในฝัน เพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน: มีเงินสำรองใช้ในยามฉุกเฉิน ข้อเสียของคอนโดเงินเหลือ ภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น: ต้องผ่อนชำระหนี้สินจำนวนมากขึ้น ดอกเบี้ยสูง: อัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อส่วนที่เกินจากราคาคอนโดมักจะสูงกว่าปกติ มีความเสี่ยง: หากเศรษฐกิจไม่ดี หรือราคาอสังหาริมทรัพย์ตกต่ำ อาจทำให้เกิดปัญหาในการผ่อนชำระหนี้ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ: มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ ค่าประเมินราคาทรัพย์สิน คอนโดเงินเหลือเหมาะกับใคร? ผู้ที่มีความพร้อมทางการเงินสูง: มีรายได้มั่นคงและสามารถผ่อนชำระหนี้ได้ในระยะยาว ผู้ที่ต้องการปิดหนี้: ต้องการนำเงินส่วนต่างไปปิดหนี้บัตรเครดิต หรือหนี้สินอื่น ๆ ผู้ที่ต้องการปรับปรุงบ้าน: ต้องการนำเงินไปตกแต่งหรือปรับปรุงคอนโด สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจ ความสามารถในการผ่อนชำระ: ประเมินรายรับ รายจ่าย และหนี้สินที่มีอยู่ว่าสามารถผ่อนชำระได้หรือไม่ อัตราดอกเบี้ย: เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยของแต่ละธนาคาร ระยะเวลาในการผ่อนชำระ: เลือกระยะเวลาผ่อนชำระที่เหมาะสมกับตัวเอง ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ: พิจารณาค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าประกัน สภาพตลาดอสังหาริมทรัพย์: ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสภาพตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบัน คอนโดเงินเหลือเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของคอนโดมิเนียม แต่ก่อนตัดสินใจ ควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดรอบคอบ และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อวางแผนทางการเงินให้เหมาะสมกับตัวเอง สำหรับคนที่กำลังมองหาคอนโดที่ตอบโจทย์อยู่ Amber International Realty ช่วยคุณได้ ได้รับการรับรองจากสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ แห่งประเทศไทย ได้รับรางวัล Agency Excellence Southeast Asia Awards 2023 จาก Dot Property ให้บริการแบบครบวงจร One Stop Service บริการซื้อ ขาย เช่า คอนโด บริการฝากขาย ฝากเช่า คอนโด บริการบริหารและจัดการคอนโด LINE@ : https://lin.ee/UIbzhRs Tel : 089-986-0202 Youtube : @amberrealty Tiktok : https://www.tiktok.com/@amberrealty เลือกดูโครงการที่ชอบ:  https://amber-international.com/projects/ #ซื้อขายคอนโดกรุงเทพ #ซื้อคอนโด #ขายคอนโด #เช่าคอนโดกรุงเทพ #ลงทุนคอนโด #คอนโดกรุงเทพ #ลงทุนอสังหา #propertyinvestment #เอเจ้นท์ #Agent #propertyagent

12 ธันวาคม 2024
MRR คืออะไร? หากคิดจะกู้บ้าน กู้คอนโด ห้ามพลาดเรื่องการคำนวณดอกเบี้ย

MRR คืออะไร? หากคิดจะกู้บ้าน กู้คอนโด ห้ามพลาดเรื่องการคำนวณดอกเบี้ย

MRR คืออะไร? และหากคิดจะกู้บ้าน กู้คอนโด ห้ามพลาดเรื่องการคำนวณดอกเบี้ย การวางแผนกู้ซื้อบ้านหรือคอนโดนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ และสิ่งหนึ่งที่หลายคนมักมองข้าม คือ MRR หรือ Minimum Retail Rate ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารใช้ในการคำนวณดอกเบี้ย สำหรับสินเชื่อบุคคลทั่วไป เช่น สินเชื่อบ้าน หรือสินเชื่อคอนโด   MRR (Minimum Retail Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำที่ธนาคารกำหนดขึ้นสำหรับลูกค้ารายย่อย โดยจะถูกนำมาใช้เป็นเกณฑ์พื้นฐานในการคำนวณดอกเบี้ยสินเชื่อ เช่น การกู้ซื้อบ้าน กู้ซื้อคอนโด หรือสินเชื่อ เพื่อการอุปโภคบริโภคอื่นๆ ธนาคารแต่ละแห่งจะมีการกำหนด MRR ที่แตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ต้นทุนการดำเนินงาน เศรษฐกิจ และนโยบายของแต่ละธนาคาร ดังนั้น ผู้กู้ควรเปรียบเทียบ MRR ของแต่ละธนาคารก่อนตัดสินใจกู้เงิน   MRR มีความสำคัญอย่างไรในการกู้บ้านหรือคอนโด? เป็นเกณฑ์ในการคำนวณดอกเบี้ย ดอกเบี้ยที่คุณต้องชำระในแต่ละเดือนมักจะถูกคำนวณจาก MRR บวกหรือลบส่วนต่าง (Spread) ตัวอย่างเช่น หากธนาคารกำหนดว่าอัตราดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้านคือ MRR -1% และ MRR ของธนาคารนั้นคือ 5% ดอกเบี้ยที่คุณต้องชำระจริงจะเท่ากับ 5.5% ต่อปี ช่วยเปรียบเทียบข้อเสนอของธนาคาร MRR เป็นตัวเลขที่ทำให้คุณสามารถเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยของแต่ละธนาคารได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณกำลังมองหาดีลสินเชื่อบ้านที่ดีที่สุด ส่งผลต่อยอดชำระรายเดือน ยิ่ง MRR ต่ำ ดอกเบี้ยก็จะต่ำลง ซึ่งหมายความว่ายอดเงินที่ต้องชำระในแต่ละเดือนจะลดลงด้วย วิธีตรวจสอบ MRR ของธนาคาร เข้าไปที่เว็บไซต์ของธนาคารที่คุณสนใจ ธนาคารมักจะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับอัตรา MRR ไว้อย่างชัดเจน สอบถามเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารโดยตรง เพื่อให้ได้ข้อมูลล่าสุดและเงื่อนไขต่างๆ เปรียบเทียบข้อมูล MRR จากหลายธนาคารเพื่อเลือกข้อเสนอที่ดีที่สุด   ข้อควรระวังเกี่ยวกับ MRR MRR ไม่ได้คงที่ อัตรา MRR อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามนโยบายของธนาคารหรือสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ อย่าดูเฉพาะ MRR อย่างเดียว บางครั้งธนาคารอาจให้ MRR ต่ำ แต่มีค่าธรรมเนียมแฝง หรือเงื่อนไขที่อาจไม่เหมาะสมกับคุณ ดังนั้นควรพิจารณาเงื่อนไขทั้งหมดก่อนตัดสินใจ สรุปส่งท้าย MRR คืออะไร? MRR ก็คือ ปัจจัยสำคัญที่ต้องรู้และเข้าใจก่อนการซื้อกู้บ้านหรือคอนโด เพราะส่งผลต่อดอกเบี้ย และยอดชำระรายเดือนของคุณโดยตรง การศึกษาและเปรียบเทียบอัตรา MRR จากธนาคารต่างๆ จะช่วยให้คุณสามารถเลือกสินเชื่อที่เหมาะสมที่สุดได้   สำหรับคนที่กำลังมองหาคอนโดที่ตอบโจทย์อยู่ Amber International Realty ช่วยคุณได้ได้รับการรับรองจากสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ แห่งประเทศไทยได้รับรางวัล Agency Excellence Southeast Asia Awards 2023 จาก Dot Property   ให้บริการแบบครบวงจร One Stop Service >>> บริการซื้อ ขาย เช่า คอนโด >>> บริการฝากขาย ฝากเช่า คอนโด >>> บริการบริหารและจัดการคอนโด LINE@ : https://lin.ee/KOsTUWR Tel : 089-986-0202 Youtube : @amberrealty Tiktok : https://www.tiktok.com/@amberrealty เลือกดูโครงการที่ชอบ:  https://amber-international.com/projects/   #ซื้อขายคอนโดกรุงเทพ #ซื้อคอนโด #ขายคอนโด #เช่าคอนโดกรุงเทพ #ลงทุนคอนโด #คอนโดกรุงเทพ

31 มกราคม 2025
Yield คืออะไร? และกี่เปอร์เซ็นต์ที่เหมาะสมกับการลงทุน

Yield คืออะไร? และกี่เปอร์เซ็นต์ที่เหมาะสมกับการลงทุน

ยิลด์ ( Yield ) เป็นคำที่พบได้บ่อยในโลกของการลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนในหุ้น พันธบัตร กองทุนรวม และสินทรัพย์อื่นๆ ยิลด์เป็นตัวชี้วัดหนึ่งที่นักลงทุนใช้ในการประเมินผลตอบแทนของการลงทุนในรูปแบบของเปอร์เซ็นต์ต่อปี แล้วคำว่ายิลด์จริงๆ นั้น หมายถึงอะไร? และยิลด์กี่เปอร์เซ็นต์ถึงจะเหมาะสมกับการลงทุน? วันนี้เรามาสรุปมาให้แล้วค่ะ…   ความหมายของคำว่า ยิลด์ ( Yield ) Yieldคือ อัตรา ผลตอบแทน จากการลงทุนที่แสดงในรูปแบบของเปอร์เซ็นต์ โดยคำนวณจากรายได้ เช่น ดอกเบี้ยหรือเงินปันผล ที่ได้รับจากสินทรัพย์นั้น เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าของการลงทุน ตัวอย่างเช่น หากคุณลงทุนในพันธบัตรที่มีราคาหน้าตั๋ว 1,000 บาท และได้รับดอกเบี้ยปีละ 50 บาท ยิลด์จะเท่ากับ 5% (50 ÷ 1,000 x 100) สำหรับหุ้น ยิลด์อาจคำนวณจากเงินปันผลที่ได้รับเมื่อเปรียบเทียบกับราคาหุ้นในตลาด ยิลด์มีหลายประเภท เช่น Dividend Yield (ยิลด์จากเงินปันผล) และ Bond Yield (ยิลด์จากพันธบัตร) ซึ่งนักลงทุนสามารถ เลือกใช้ตามประเภทของสินทรัพย์ที่สนใจ   ปัจจัยที่มีผลต่อยิลด์ ประเภทของสินทรัพย์ สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตรรัฐบาล มักให้ยิลด์ต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น หุ้น กองทุนรวม หรืออสังหาริมทรัพย์ สภาพเศรษฐกิจ ในช่วงที่เศรษฐกิจเติบโต ยิลด์จากหุ้นหรือสินทรัพย์เสี่ยงสูงมักเพิ่มขึ้น ในขณะที่ช่วงเศรษฐกิจซบเซา ยิลด์จากพันธบัตรหรือสินทรัพย์ปลอดภัยจะเป็นที่นิยม อัตราดอกเบี้ย เมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดเพิ่มขึ้น ยิลด์จากก็มักปรับตัวเพิ่มขึ้นตาม   ยิลด์กี่เปอร์เซ็นต์ที่เหมาะสมกับการลงทุน? ไม่มีคำตอบที่ตายตัวว่า… ยิลด์กี่เปอร์เซ็นต์ที่เหมาะสม เนื่องจากขึ้นอยู่กับเป้าหมายการลงทุนและความเสี่ยงที่นักลงทุนยอมรับได้ อย่างไรก็ตาม เราสามารถพิจารณาแนวทางเบื้องต้นได้ดังนี้ สำหรับนักลงทุนที่เน้นความปลอดภัย หากคุณต้องการความมั่นคงและไม่อยากเสี่ยง ยิลด์ที่เหมาะสมอาจอยู่ในช่วง 2-5% เช่น การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล หรือกองทุนตราสารหนี้ สำหรับนักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้บ้าง: การลงทุนในหุ้นที่มีปันผล อาจให้ยิลด์ในช่วง 4-7% ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ต้องการผลตอบแทนสูงขึ้นแต่ยังต้องการความมั่นคงในระดับหนึ่ง สำหรับนักลงทุนที่เน้นผลตอบแทนสูง หากคุณพร้อมรับความเสี่ยง การลงทุนในหุ้นเติบโตหรือกองทุนรวมที่มุ่งเน้นผลตอบแทนสูง อาจให้ยิลด์ตั้งแต่ 7% ขึ้นไป แต่ควรระมัดระวัง เนื่องจากความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น เคล็ดลับในการเลือกยิลด์ที่เหมาะสม วิเคราะห์ความเสี่ยง อย่ามองแค่ยิลด์ที่สูง แต่ควรพิจารณาความเสี่ยงที่มาพร้อมกับผลตอบแทน เปรียบเทียบกับตลาด ตรวจสอบว่ายิลด์ของสินทรัพย์ที่คุณสนใจสอดคล้องกับค่าเฉลี่ยของตลาดหรือไม่? กระจายการลงทุน ไม่ควรลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ยิลด์สูงเพียงอย่างเดียว ควรกระจายการลงทุนเพื่อบริหารความเสี่ยง   สรุปส่งท้าย ยิลด์ เป็นตัวชี้วัดสำคัญ ที่ช่วยให้นักลงทุนเข้าใจถึง ผลตอบแทน จากการลงทุน อย่างไรก็ตาม การเลือกยิลด์ที่เหมาะสมไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวเลขเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องพิจารณาถึงเป้าหมาย ความเสี่ยง และสภาพตลาดในช่วงเวลานั้นด้วย การศึกษาและวางแผนอย่างรอบคอบจะช่วยให้นักลงทุนสามารถเลือกยิลด์ที่ตอบโจทย์และสร้างผลตอบแทนที่ยั่งยืนได้ในระยะยาว สำหรับคนที่กำลังมองหาคอนโดที่ตอบโจทย์อยู่ Amber International Realty ช่วยคุณได้ได้รับการรับรองจากสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ แห่งประเทศไทยได้รับรางวัล Agency Excellence Southeast Asia Awards 2023 จาก Dot Property   ให้บริการแบบครบวงจร One Stop Service >>> บริการซื้อ ขาย เช่า คอนโด >>> บริการฝากขาย ฝากเช่า คอนโด >>> บริการบริหารและจัดการคอนโด   LINE@ : https://lin.ee/KOsTUWR Tel : 089-986-0202 Youtube : @amberrealty Tiktok : https://www.tiktok.com/@amberrealty เลือกดูโครงการที่ชอบ:  https://amber-international.com/projects/   #ซื้อขายคอนโดกรุงเทพ #ซื้อคอนโด #ขายคอนโด #เช่าคอนโดกรุงเทพ #ลงทุนคอนโด #คอนโดกรุงเทพ

28 มกราคม 2025