
ผลสำรวจ คนหาบ้าน ในปี 2568 มีแนวโน้มเช่ามากกว่าซื้อจริงหรือไม่?
ผู้บริโภคในตลาดอสังหาฯ ปี 2568 มีความ ต้องการเช่า มากกว่าซื้อ จริงหรือไม่?
ปัจจุบัน ความท้าทายของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในไทย กำลังเผชิญจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ จากรายงานของ DDproperty ในช่วงต้นปี 2567
พบว่า… กลุ่มที่อยู่อาศัยระดับล่างที่มีราคา 1-3 ล้านบาท ซึ่งครองสัดส่วนถึง 30% ของตลาดทั้งหมด กำลังส่งสัญญาณอันตราย
จากอัตราการปฏิเสธสินเชื่อที่พุ่งสูงถึง 40-50% สะท้อนให้เห็นถึงความเปราะบางของกำลังซื้อที่แท้จริงในตลาดที่อยู่อาศัยระดับล่าง
และยิ่งไปกว่านั้น… ข้อมูลจากเครดิตบูโรยิ่งตอกย้ำความน่ากังวลของสถานการณ์ เมื่อพบว่าหนี้เสียจากสินเชื่อบ้านกำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ซื้อระดับล่างที่เริ่มผ่อนบ้านไม่ไหว อันเนื่องมาจากค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้น โดยประมาณ 60-70% ของหนี้ที่มีแนวโน้มจะกลายเป็นหนี้เสีย
หรือคิดเป็นมูลค่าราว 1.2 แสนล้านบาท มาจากกลุ่มผู้กู้ที่ซื้อบ้านในระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง
สะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยงที่อาจลุกลามเป็นปัญหาเชิงระบบได้หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที
การเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยยังคง เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายสำคัญในชีวิตของผู้บริโภคหลายคน นอกจากจะสะท้อนถึงความมั่นคงและความพร้อมทางการเงินของผู้บริโภคแล้ว
ยังสะท้อนภาพรวมให้เห็นถึงการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศอีกด้วย
ดังนั้น เมื่อเศรษฐกิจไทยชะลอตัวอย่างต่อเนื่องในขณะที่อัตราดอกเบี้ยสูงย่อมส่งผลกระทบต่อการวางแผนซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคโดยตรงเช่นกัน
ข้อมูลจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เผยว่า… เศรษฐกิจไทยปี 2566 ขยายตัว 1.9% ชะลอตัวจากการขยายตัว 2.5% ในปี 2565
และคาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2567 จะขยายตัวในช่วง 2.2–3.2% (โดยไม่รวมผลของมาตรการดิจิทัลวอลเล็ต) ซึ่งปรับลดลงจากประมาณการครั้งก่อนหน้า
ที่คาดว่าจะขยายตัวในช่วง 2.7-3.7% ถือเป็นการส่งสัญญานให้ผู้บริโภคที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในปีนี้ต้องเตรียมวางแผนทางการเงินอย่างรัดกุมอีกครั้ง
ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย พบว่า… ภาพรวมความเชื่อมั่นด้านอสังหาริมทรัพย์ของผู้บริโภคชาวไทยมีทิศทางลดลงในทุกด้าน
โดยดัชนีความเชื่อมั่นด้านอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 48% จากเดิม 50% ในรอบก่อนหน้า สะท้อนให้เห็นว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจและความท้าทายต่างๆ
ยังคงส่งผลกระทบต่อการวางแผนซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะความท้าทายทางการเงินที่เป็นปัจจัยสำคัญส่งผลให้ความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคปรับลดลงตามไปด้วย
โดยลดลงมาอยู่ที่ 59% (จากเดิม 63% ในรอบก่อน) หลังจากผู้บริโภคต้องเผชิญกับความท้าทายทางการเงินทั้งจากค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับสูง
ผู้บริโภคส่วนใหญ่มองว่า… อัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัยอยู่ในระดับสูง (48%) และสูงมาก (29%) มีเพียง 16% ที่มองว่าอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันมีความเหมาะสมแล้ว
ขณะเดียวกันมีผู้บริโภคเพียง 13% เท่านั้นที่มองว่ารัฐบาลมีความพยายามเพียงพอที่จะช่วยให้ซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองได้ (ลดลงจาก 15% ในรอบก่อน)
เนื่องจากภาครัฐยังคงไม่มีการออกมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม (นอกจากมาตรการลดค่าโอน-จดจำนอง ที่ต่ออายุมาตรการจนถึงสิ้นปี 2567)
เมื่อพิจารณาความพึงพอใจในสภาพตลาดที่อยู่อาศัยมีการปรับลดลงเช่นกัน โดยลดลงมาอยู่ที่ 63% จากเดิม 65% ในรอบก่อน อย่างไรก็ตามสำหรับในกลุ่มผู้บริโภคที่ยังคงพึงพอใจอยู่
ส่วนใหญ่ 39% เผยว่าพึงพอใจเนื่องจากราคาที่อยู่อาศัยในปัจจุบันยังเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ รองลงมามองว่าตลาดที่อยู่อาศัยมีเสถียรภาพและยืดหยุ่น 37% และเห็นโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว 31%
ขณะที่มุมมองของผู้ที่ไม่พึงพอใจ เกือบ 2 ใน 3 (65%) มองว่า เศรษฐกิจยังไม่ดีเท่าที่ควร ตามมาด้วยอัตราดอกเบี้ยยังไม่ลดลงมาถึงระดับที่คาดหวัง 32% และมองว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ไม่มีเสถียรภาพ 30%
คนอยากซื้อบ้านน้อยลงในยุคดอกเบี้ยสูง
ผู้บริโภคกว่า 2 ใน 5 (44%) วางแผนซื้อที่อยู่อาศัยในอีก 1 ปีข้างหน้า ลดลงอย่างมีนัยสำคัญจาก 53% ในรอบก่อนหน้า
ซึ่งถือเป็นสัญญาณสะท้อนให้เห็นว่ากำลังซื้อของผู้บริโภคยังคงไม่ฟื้นตัว สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจที่ยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง
นอกจากนี้ในกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้บริโภคระดับกลางและล่างยังคงมีความเปราะบางทางการเงินจึงจำเป็นต้องลดการก่อหนี้ใหม่
ในทางกลับกันสัดส่วนของผู้เลือกเช่าที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นถึง 14% (จากเดิม 9%) ส่วนอีก 34% ยังไม่มีการวางแผนซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัยใดๆ
ขณะที่อีก 8% จะรับมรดกที่อยู่อาศัยต่อจากพ่อแม่และผ่อนชำระต่อไปแทน
1 ใน 3 ของคนหาบ้านมีเงินพร้อมซื้อ หวังเพิ่มพื้นที่ส่วนตัว เหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (44%) ตัดสินใจซื้อที่อาศัยในเวลานี้เนื่องจากต้องการพื้นที่ส่วนตัวมากที่สุด
รองลงมา คือ เลือกซื้อเพื่อการลงทุน 29% และซื้อเพื่อเพิ่มพื้นที่สำหรับพ่อแม่/บุตรหลานให้มากขึ้น 27%
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาความพร้อมทางการเงินของผู้บริโภคพบว่ามีแนวโน้มเติบโตอย่างน่าสนใจ โดย 1 ใน 3 ของผู้ที่วางแผนซื้อที่อยู่อาศัย (33%)
เผยว่ามีเงินออมเพียงพอที่จะซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองแล้ว สัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก 24% ในรอบก่อนหน้า
สะท้อนให้เห็นว่า… คนหาบ้านยุคนี้ให้ความสำคัญกับการวางแผนทางการเงินก่อนตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยมากขึ้น หลังจากเผชิญความท้าทายทางเศรษฐกิจมาเป็นเวลานาน
ขณะที่ผู้บริโภคเกือบครึ่ง (47%) เผยว่า… เก็บเงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยได้เพียงครึ่งทางเท่านั้น ส่วน 19% ของผู้วางแผนซื้อที่อยู่อาศัยยังไม่ได้เริ่มแผนเก็บเงินใดๆ เลย
เงินเก็บไม่พอ ทำให้คนหันเช่า เหตุผลหลักที่ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกเช่าที่อยู่อาศัยนั้น กว่า 3 ใน 5 (61%) เผยว่ายังไม่มีเงินเก็บเพียงพอในการซื้อที่อยู่อาศัยในเวลานี้
ขณะที่เกือบ 2 ใน 5 (38%) มองว่าที่อยู่อาศัยมีราคาแพงเกินไปจึงเลือกเก็บออมเงินแทน และ 27% มองไม่เห็นความจำเป็นหรือความเร่งด่วนที่ต้องซื้อที่อยู่อาศัยตอนนี้
สะท้อนให้เห็นว่าสภาพคล่องทางการเงินยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคไม่พร้อมเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย จึงหันมาเลือกเช่าแทน
เทรนด์ Generation Rent ที่ยังคงได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องด้วยความท้าทายจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ทำให้คนรุ่นใหม่และวัยทำงาน
ไม่ต้องการเพิ่มภาระผูกพันทางการเงินในระยะยาวจากการซื้อที่อยู่อาศัย การเช่าจึงตอบโจทย์เรื่องค่าใช้จ่ายมากกว่า
และยังได้เปรียบในด้านความยืดหยุ่นและคล่องตัวหากต้องการย้ายที่อยู่อาศัยในอนาคต
โดยผู้เช่าส่วนใหญ่ 31% เผยว่า… ได้วางแผนเช่า 2 ปี ก่อนจะซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองในภายหลัง ขณะที่ 1 ใน 3 (33%) ยังไม่แน่ใจว่าจะเช่าต่อไปอีกนานแค่ไหน
เนื่องจากต้องพิจารณาความพร้อมหลายๆ ด้านประกอบกัน
โดยค่าเช่าที่ได้รับความสนใจมากที่สุดอยู่ที่ไม่เกิน 5,000 บาท/เดือน สัดส่วน 48% และมีสัดส่วนที่สูงขึ้นในกลุ่มผู้เช่าปัจจุบันและผู้มีรายได้น้อย
สะท้อนให้เห็นถึงกำลังซื้อและความสามารถในการใช้จ่ายของผู้เช่าในปัจจุบันที่ยังคงต้องรัดเข็มขัดต่อเนื่อง
รองลงมาคือ 5,001-10,000 บาท/เดือน และ 10,001-15,000 บาท/เดือน (สัดส่วน 39% และ 6% ตามลำดับ)
สรุปส่งท้าย ปี 2568 อาจเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของวงการอสังหาริมทรัพย์ไทย ที่จะเห็นการปรับตัวครั้งใหญ่ทั้งจากฝั่งผู้ประกอบการและผู้บริโภค
โดยผู้บริโภคมีความ ต้องการเช่า มากกว่าซื้อ เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ภายใต้บริบทของตลาดที่ต้องพึ่งพากลไกการสนับสนุนจากภาครัฐมากขึ้น โดยเฉพาะการออกมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง
ให้สามารถเข้าถึงที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น ควบคู่ไปกับการเร่งแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องจักรสำคัญของระบบเศรษฐกิจไทย
สามารถกลับมาขับเคลื่อนได้อย่างเต็มศักยภาพอีกครั้ง
และด้วยการเพิ่มจำนวนของวัยรุ่น Gen Z ที่มองหาการเช่า มากกว่าการซื้อ ด้วยเหตุผลที่ว่า… ไม่มีภาระผูกมัดย่อมดีกว่า เพราะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน ก็เป็นผลต่อการตัดสินใจซื้อนั้นเองค่ะ…
สำหรับคนที่กำลังมองหาคอนโดที่ตอบโจทย์อยู่ Amber International Realty ช่วยคุณได้ได้รับการรับรองจากสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ แห่งประเทศไทย
ได้รับรางวัล Agency Excellence Southeast Asia Awards 2023 จาก Dot Property
ให้บริการแบบครบวงจร One Stop Service
>>> บริการซื้อ ขาย เช่า คอนโด
>>> บริการฝากขาย ฝากเช่า คอนโด
>>> บริการบริหารและจัดการคอนโด
LINE@ : https://lin.ee/KOsTUWR
Tel : 089-986-0202
Youtube : @amberrealty
Tiktok : https://www.tiktok.com/@amberrealty
เลือกดูโครงการที่ชอบ: https://amber-international.com/projects/
#ซื้อขายคอนโดกรุงเทพ #ซื้อคอนโด #ขายคอนโด #เช่าคอนโดกรุงเทพ #ลงทุนคอนโด #คอนโดกรุงเทพ