
กฎหมายการออกแบบอาคารที่เกี่ยวกับสถานการณ์แผ่นดินไหว
กฎหมายการออกแบบอาคาร ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์แผ่นดินไหวมีอะไรบ้าง หลายคนคงอยากรู้ เพราะเมื่อวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา คงเป็นฝันร้ายของใครหลายๆคน ที่ต้องตกอยู่ในเหตุการณ์ไม่คาดคิด อย่างแผ่นดินไหว ที่นั่งทำงานอยู่ก็ต้องวิ่งลงจากตึก เพื่อเอาชีวิตรอด หรือแม้แต่ผู้โชคร้ายที่ตกอยู่ในเหตุการณ์ตึก สตง. ถล่ม เป็นเหตุการณ์ที่กระทบจิตใจผู้คนในวงกว้าง และเหตุการณ์แบบนี้คงไม่มีอยากให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
และเพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย มีเรื่องอะไรบ้างที่เราควรรู้ หลายคนมุ่งประเด็นความสงสัยมาที่ตัวอาคาร แล้วอาคารที่ปลอดภัยต้องมีมาตราฐานอย่างไรบ้าง กฎหมายกำหนด ให้มีการใช้วัสดุแบบไหนบ้าง? วันนี้บทความนี้ Amber ได้รวบรวมกฎหมายการออกแบบอาคารเกี่ยวกับสถานการณ์แผ่นดินไหวมาฝากเพื่อนๆ เพื่อเป็นความรู้กันค่ะ
นอกจากอาคารที่สูงตระง่าแล้ว ความสำคัญในการสร้างอาคารที่ปลอดภัยก็เป็นสิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาเช่นกัน ซึ่งในปัจจุบัน ความปลอดภัยของอาคารในกรณีที่เกิดแผ่นดินไหว เป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองข้ามได้ เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่บนเขตแผ่นดินไหว ซึ่งมีความเสี่ยงจากการเกิดแผ่นดินไหวในบางพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ดังนั้น การออกแบบอาคารให้สามารถรับมือกับแผ่นดินไหวได้จึงเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นที่มาของกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการออกแบบอาคารในสถานการณ์ฉุกเฉินทางภัยพิบัตินั่นเอง
กฎหมายและมาตรฐานการออกแบบอาคารสำหรับแผ่นดินไหว
ในประเทศไทย กฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับการออกแบบอาคารที่ต้องสามารถต้านทานแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้ มีการกำหนดใน “มาตรฐานการออกแบบโครงสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้าง พ.ศ. 2558” ซึ่งมีการกำหนดข้อกำหนดในการออกแบบอาคาร เพื่อความปลอดภัยจากภัยพิบัติแผ่นดินไหว โดยมีการระบุให้ทุกอาคารที่มีความสูงเกิน 6 ชั้น ต้องมีการออกแบบที่สามารถรับมือกับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้
การออกแบบโครงสร้างอาคาร ที่สามารถทนแรงแผ่นดินไหว
การออกแบบโครงสร้างอาคารที่ทนทานต่อแผ่นดินไหว จำเป็นต้องพิจารณาองค์ประกอบหลายๆ อย่าง เช่น
- วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง วัสดุที่ใช้จะต้องมีความแข็งแรงและยืดหยุ่นเพียงพอที่จะรองรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว โดยเฉพาะในส่วนของโครงสร้างหลัก เช่น เสาและคาน
- การวิเคราะห์และคำนวณแรงที่กระทำ การคำนวณแรงแผ่นดินไหว จะต้องใช้ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ที่ตั้งของอาคาร การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก และความเร็วของแผ่นดินไหวในพื้นที่นั้นๆ
- ระบบโครงสร้างยืดหยุ่น การออกแบบให้มีระบบโครงสร้างที่สามารถยืดหยุ่นได้ เช่น การใช้เทคโนโลยีระบบรองรับแรงแผ่นดินไหว (seismic dampers) หรือระบบกันกระแทก (shock absorbers) เพื่อช่วยลดการกระแทกจากแรงแผ่นดินไหว
กระทรวงมหาดไทยออก “กฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2564″ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2564 เพื่อใช้บังคับแทนกฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนักฯ ฉบับเดิม พ.ศ. 2550 โดยให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
กฎกระทรวงฉบับใหม่นี้ได้ปรับปรุงบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบันที่พบว่า… มีพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวในประเทศมากขึ้น จากเดิมมี บริเวณเฝ้าระวัง บริเวณที่ 1 และบริเวณที่ 2 โดยแบ่งใหม่เป็น 3 บริเวณ ได้แก่
- บริเวณที่ 1 (เดิมคือ บริเวณเฝ้าระวัง) มี 14 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ ชุมพร สงขลา สุราษฎร์ธานี โดยมีหลายจังหวัดที่เพิ่มเติมขึ้นมา ได้แก่ ตรัง นครพนม นครศรีธรรมราช บึงกาฬ ประจวบคีรีขันธ์ พิษณุโลก เพชรบุรี เลย สตูล และหนองคาย และมีบางจังหวัดที่ปรับย้ายไปเป็นบริเวณที่ 2 (พังงา ภูเก็ต ระนอง)
- บริเวณที่ 2 (เทียบได้กับ บริเวณที่ 1 เดิม) เป็นบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบในระดับปานกลาง มี 17 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร โดยมีจังหวัดที่ปรับย้ายมาจากบริเวณเฝ้าระวังเดิม คือ พังงา ภูเก็ต ระนอง และมีจังหวัดที่เพิ่มเติมขึ้นมา ได้แก่ กำแพงเพชร ชัยนาท นครปฐม นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี และอุทัยธานี
- บริเวณที่ 3 (เทียบได้กับ บริเวณที่ 2 เดิม) เป็นบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบในระดับสูง มี 12 จังหวัด ได้แก่จังหวัดเดิม 10 จังหวัด คือ กาญจนบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และลำพูน และเพิ่มขึ้น 2 จังหวัด คือ สุโขทัย และอุตรดิตถ์
สำหรับประเภทอาคารที่ให้ใช้บังคับตามกฎกระทรวงฉบับนี้ ได้ปรับปรุงและเพิ่มเติมมากขึ้นในทั้งสามบริเวณ (ดูรายละเอียดในข้อ 4 ของกฎกระทรวง) ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับการออกแบบและคำนวณโครงสร้างอาคาร เพื่อต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว ไม่ได้บรรจุไว้ในกฎกระทรวงฉบับนี้ แต่จะเป็นไปตามที่รัฐมนตรี โดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมอาคารประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา หรือหลักเกณฑ์บางส่วนอาจเป็นไปตามที่มีการจัดทำขึ้น โดยส่วนราชการที่มีหน้าที่และอำนาจในเรื่องนั้น ซึ่งจะทำให้การปรับปรุงหลักเกณฑ์ต่างๆ ให้มีความทันสมัยเป็นไปได้ง่ายขึ้น โดยคาดว่าจะมีการออกประกาศกำหนดรายละเอียดเพื่อใช้ในการออกแบบและคำนวณภายในระยะเวลาก่อนการใช้บังคับกฎกระทรวงฉบับนี้
กฎกระทรวง: https://download.asa.or.th/03media/04law/cba/mr/mr64-68b.pdf
ประกาศจากกฎกระทรวง: https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/275/T_0016.PDF
ผลกระทบของการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายการออกแบบ
การไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการออกแบบอาคารเพื่อความปลอดภัยจากแผ่นดินไหว สามารถส่งผลร้ายแรงได้ โดยเฉพาะหากเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่ที่ไม่พร้อมรับมือกับแรงสั่นสะเทือน อาจทำให้เกิดความเสียหายทั้งในแง่ของทรัพย์สินและชีวิตมนุษย์
ดังนั้น การปฏิบัติตามกฎหมายการออกแบบอาคารจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงเหล่านี้
บทสรุป
สรุปส่งท้าย กฎหมายการออกแบบอาคาร มีเพื่อรับมือกับแผ่นดินไหว เป็นปัจจัยที่สำคัญมากในกรอบกฎหมายการก่อสร้าง ซึ่งมีบทบาทในการปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน การปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานการออกแบบอาคารในสถานการณ์แผ่นดินไหวไม่เพียงแต่จะช่วยลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติธรรมชาติ แต่ยังเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้พักอาศัยในอาคารนั้นๆ ว่าพวกเขาจะปลอดภัยในกรณีที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว
สำหรับคนที่กำลังมองหาคอนโดที่ตอบโจทย์อยู่ Amber International Realty ช่วยคุณได้ได้รับการรับรองจากสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ แห่งประเทศไทย
ได้รับรางวัล Agency Excellence Southeast Asia Awards 2023 จาก Dot Property
ให้บริการแบบครบวงจร One Stop Service
>>> บริการซื้อ ขาย เช่า คอนโด
>>> บริการฝากขาย ฝากเช่า คอนโด
>>> บริการบริหารและจัดการคอนโด
LINE@ : https://lin.ee/KOsTUWR
Tel : 089-986-0202
Youtube : @amberrealty
Tiktok : https://www.tiktok.com/@amberrealty
เลือกดูโครงการที่ชอบ: https://amber-international.com/projects/
#ซื้อขายคอนโดกรุงเทพ #ซื้อคอนโด #ขายคอนโด #เช่าคอนโดกรุงเทพ #ลงทุนคอนโด #คอนโดกรุงเทพ